มะระขี้นก

ชื่อสมุนไพร : มะระขี้นก
ชื่ออื่นๆ
: มะไห่ , มะห่อย , ผักไห่ , ผักไซ (ภาคเหนือ) , มะระหนู , มะร้อยรู  (ภาคกลาง) , ผักสะไล , ผักไส่ (ภาคอีสาน) , ระ (ภาคใต้) , ผักไห (นครศรีธรรมราช) , ผักเหย (สงขลา) , สุพะซู , สุพะซู , สุพะเด (กะเหรี่ยง  – มะฮ่องสอน) , โกควยเกี๋ย , โคงกวย (จีน)
ชื่อสามัญ : Bitter Cucumber, Balsum Pear
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia L.
ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะระขี้นก เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้อายุเพียง 1 ปี มีมือเกาะ หรือหนวดเล็กยาวสำหรับยึดเกาะกับพืชอื่น ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนปกคลุม
    มะระขี้นก
  • ใบมะระขี้นก เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกัน ลักษณะคล้ายใบแตงโม แต่เล็กกว่า มีสีเขียวทั้งใบ ขอบหยักเว้าลึก มี 5-7 หยัก ปลายใบ แหลมใบกว้าง ประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร ยาว 4 – 10.5 เซนติเมตร
  • ดอกมะระขี้นก ออกเดี่ยว เป็นดอกเดี่ยวแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ขนาดประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร มีสีเหลืองอ่อน มี 5 กลีบ เกสรสีเหลืองแก่ส้ม มีเกสรตัวผู้และอับเรณูอย่างละ 3 อัน ดอกตัวเมีย มีรังไข่ 1 อัน  กลีบดอกบาง
    มะระขี้นก
  • ผลมะระขี้นก เป็นผลเดี่ยว รูปกระสวย ผิวขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลืองส้ม เส้นผ่าศูนย์กลางผล 2-3.5 ซม. ยาว 5-8 ซม. ผลแก่แตกอ้าออกภายในมีเมล็ดรูปร่างกลม แบนหรือรูปไข่ เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีแดง
    ผลมะระขี้นก มะระขี้นก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, เถา, ใบ, ดอก, ผลและเมล็ด (ใช้สดหรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ ผลอาจเก็บมาหั่นเป็นท่อนๆ ตากแห้งเก็บไว้ใช้)

สรรพคุณ มะระขี้นก :

  • ผลแห้ง รักษาโรคหิด
  • ผล รสขม เย็นจัด ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี แก้ไข้ แก้ร้อนใน ร้อนในกระหายน้ำทำให้ตาสว่าง แก้บิด ตาบวมแดง แผลบวมเป็นหนอง ฝีอักเสบ
  • เมล็ด  รสขม ชุ่ม ไม่มีพิษ แก้วัวถูกพิษใช้คั้นเอาน้ำให้กิน เป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มพูนลมปราณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง
  • ใบ แก้โรคกระเพาะ บิด แผลฝีบวมอักเสบ ขับพยาธิ
  • ดอก รสขม เย็นจัด ใช้แก้บิด
  • ราก รสขม เย็นจัด ใช้แก้ร้อน แก้พิษ บิดถ่ายเป็นเลือด แผลฝีบวมอักเสบ และปวดฟัน
  • เถา รสขม เย็นจัด ใช้แก้ร้อน แก้พิษ บิดฝีอักเสบ ปวดฟัน
Scroll to top