ชื่อสมุนไพร : มะหาด
ชื่ออื่นๆ : ปวกหาด(เชียงใหม่), มะหาดใบใหญ่(ตรัง), หาดขนุน(ภาคเหนือ), ฮัด(ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), หาด(ทั่วไป-ภาคกลาง), เซยาสู้(กะเหรี่ยง-กำแพง), กาแย, ตาแป, ตาแปง(มลายู-นราธิวาส) และ ขนุนป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus lakoocha Roxb.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นมะหาด เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 15-20 เมตร ลักษณะเปลาตรง ทรงพุ่มกลมหรือแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเป็นสีดำ ต้นแก่ผิวเปลือกจะค่อนข้างหยาบ ขรุขระและแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ
- ใบมะหาด เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้ามนหรือแหลมกว้าง ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 5-20 เซนติเมตร และยาว 10-30 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนมีขนหยาบเล็กน้อย ส่วนด้านล่างเป็นสีเขียวอมเทา มีขนหยาบสีเหลืองเล็กน้อย
- ดอกมะหาด เป็นช่อกระจุกแน่นกลมสีเหลืองหม่นถึงสีชมพูอ่อน โดยจะออกตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน แต่อยู่คนละช่อ
- ผลมะหาด เป็นสดและมีเนื้อ เป็นผลรวมสีเหลือง รูปทรงกลมค่อนข้างบิดเบี้ยวเป็นตะปุ่มตะป่ำ ผิวผลขรุขระและมีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ ผลอ่อนเป็นสีเขียว พอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนถึงส้ม เมื่อแก่เป็นสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อผลนุ่มเป็นสีเหลืองถึงสีชมพู ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะเป็นรูปขอบขนานหรือเกือบกลม เมล็ดเป็นสีน้ำตาลทา
ส่วนที่ใช้เป็นยา : แก่น, ราก, เปลือกต้น
สรรพคุณ มะหาด :
- แก่น ขับพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน แก้ผื่นคัน แก้ดวงจิตขุ่นมัว ระส่ำระสาย แก้นอนไม่หลับ แก้เบื่ออาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ถ่ายพยาธิ แก้ท้องโรพุงโต แก้จุกผามม้ามย้อย แก้ฝีในท้อง แก้ปวด แก้เคือง กระจายโลหิต แก้ขุกแน่น แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลม ผายลม แก้ผื่นคัน แก้ตานขโมย เป็นยาระบาย ถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม ถ่ายพยาธิเส้นด้าย ขับเลือด ถ่ายพยาธิตัวแบน แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ท้องผูกไม่ถ่าย
- ราก แก้ไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น ขับพยาธิ แก้ไข้เพื่อฝีภายใน แก้พิษร้อน
- เปลือกต้น แก้ไข้
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ถ่ายพยาธิตัวตืด” icon=”arrow”]
ผงปวกหาด เตรียมได้โดยการเอา แก่นมะหาดมาต้มเคี่ยวด้วยน้ำไปนานจนเกิดฟองขึ้น แล้วช้อนฟองขึ้นมาตากแห้ง จะได้ผงสีเหลือง นำมาบดให้เป็นผงละเอียด ขนาดรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา (ประมาณ 3-5 กรัม) รับประทานกับน้ำสุกเย็น ก่อนอาหารเช้า หลังจากรับประทานยาปวกหาดแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือ หรือยาถ่ายตาม เพื่อระบายท้อง จะถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือนออกหมด[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”สำหรับผู้ถ่ายพยาธิตัวตืด” icon=”arrow”]ใช้ผงมะหาด 1 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ รับประทานครั้งเดียว อีก 2 ชั่วโมงต่อมาให้รับประทานยาถ่ายตาม
สำหรับเด็ก ใช้ยาครึ่งช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ รับประทานครั้งเดียว อีก 2 ชั่วโมงต่อมาจึงรบประทานยาถ่ายตาม[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”อาการข้างเคียง” icon=”arrow”] ผู้ป่วยบางราย มีอาการแพ้ มีผื่นคันขึ้นทั้งตัว หน้าแดง ผิวหนังแดง คัน ตาแดง มีไข้ อาการจะหายไปภายใน 1-2 วัน[/su_spoiler]
[su_quote]ข้อควรระวัง : ห้ามรับประทานผงปวกหาดกับน้ำร้อน จะทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้[/su_quote]
[su_spoiler title=”สารเคมีที่พบ :” icon=”arrow”]เปลือกราก
– มี 5, 7 Dihydroxy flavone – 3 – 0 – – L – rhamnoside
– Galangin – 3 – beta – D – galactosyl – (1-4) – alfa – L – rhamnoside
– Lupeol
– Quercetin – 3 – O – beta – L – rhamnopy ranoside
– beta – Sitosterol
ทั้งต้น – มี 2, 3, 4, 5 – Tetrahydroxystibene
ต้น – มี 5 – Hydroxy – 2 ,4,7 – trimethoxy flsvone
– 2, 3, 4, 5, – Tetrahydroxystibene
เปลือกต้น – มี Tannin , Amyrin acetate, Lupeol acetate
นอกจากนี้ยังพบสารเคมี โดยไม่ระบุว่าพบในส่วนใดคือ 2 , 3 ,4 , 5 – Tetrahydroxystibene[/su_spoiler]