ชื่อสมุนไพร : ย่านางแดง
ชื่ออื่นๆ : เถาขยัน, ขยัน, สยาน, ขยาน, เครือขยัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia strychnifolia Craib
ชื่อวงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE–CAESALPINIOIDEAE)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ใบย่านางแดง ใบเดี่ยวออกเรียงสลับมีหูใบเล็ก ๆ 1 คู่ ๆ ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่มนรี ขนากกว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร โคนใบหยักเว้าเล็กน้อย ปลายใบสอบแคบหรือแหลม ผิวใบเกลี้ยงและเป็นมันสีเขียว เส้นแขนงใบสีแดงคล้ำ ใบยอดอ่อนสีออกแดง
- ดอกย่านางแดง ออกเป็นช่อยาวเรียวตามปลายกิ่ง ดอกเป็นหลอดกลวงโค้งเล็กน้อย ปลายบานห้อยลงคล้ายกับดอกประทัดจีนมีจำนวนมากช่อหนึ่งยาว 50-100 เซนติเมตร ดอกลู่มาทางโคนช่อแผ่ออก 2 ข้างของก้านช่อกลีบรองดอกสีแดง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวยปลายแยกเป็นแฉกแหลมๆ 5 แฉก กลีบดอกสีแดงคล้ำมี 5 กลีบ มีขนประปรายไม่ขยายบานออกมีเกสรตัวผู้ ๕ อัน ก้านดอกยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร
- ผลย่านางแดง เป็นฝักแบน ๆ มีขนสีน้ำตาลนุ่มคล้ายฝักฝาง สีเขียวอ่อน
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, เถา, ราก
สรรพคุณ ย่านางแดง :
- ใบ, เถา, ราก รสฝาดขื่นเย็น สรรพคุณใช้ได้เหมือนย่านางขาวทุกประการ แต่มีฤทธิ์แรงกว่า นอกจากนั้นยังใช้แก้พิษ ถอนพิษยาเมา ยาเบื่อ ยาสั่ง ถอนพิษผิดสำแดง ถอนพิษและแก้พิษไข้ทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ไม่ผูกไม่ถ่าย ใช้ฝนกับน้ำซาวข้าว หรือต้มดื่ม