รสสุคนธ์

ชื่อสมุนไพร : รสสุคนธ์
ชื่ออื่นๆ :
ลิ้นแรด, สุคนธรส, มะตาดเครือ, นรคนธ์, อรคนธ์, เสาวคนธ์, กะปดใบเลี่ยม, ปด, ปดน้ำมัน, ปดเลื่อน, ปดควาย, ย่านปด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetracera loureiri (Fin.& Gagnep.) Pierre ex Craib
ชื่อวงศ์ : DILLENIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นรสสุคนธ์ เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เลื้อยได้ไกล 5-8 เมตร กิ่งอ่อนมีขน แตกกิ่งเลื้อยทอดยาว เปลือกเถาสีน้ำตาล มีเนื้อไม้แข็ง มีใบรวมอยู่เฉพาะปลายยอดรสสุคนธ์
  • ใบรสสุคนธ์ เดี่ยวรูปรี ถึงรูปขอบขนาน กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร โคนใบและปลายใบมนถึงแหลม ขอบใบจักห่างๆ ใบออกเรียงแบบสลับกัน เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบด้านบนเห็นเส้นแขนงใบเป็นร่อง ผิวใบด้านท้องใบสากคาย หลังใบมีสีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 0.6-1 เซนติเมตร
  • ดอกรสสุคนธ์ ดอกเล็กๆ ออกเป็นช่อ แบบแยกแขนง ออกที่ซอกใบ หรือปลายยอด ช่อดอกยาว 10-15 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกมีทรงกลม สีขาว กลีบดอกบางมี 5 กลีบ  หลุดร่วงง่าย มีกลิ่นหอม ดอกบานไม่พร้อมกัน เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร เกสรเพศผู้สีขาว มีเป็นจำนวนมาก มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ
  • ผลรสสุคนธ์ รูปไข่เบี้ยว สีเขียว มีขนาด 0.7 เซนติเมตร มีจะงอยที่ส่วนปลาย เมื่อแก่จะแตกแนวเดียว ภายในมีเมล็ดสีดำรูปไข่ 1-2 เมล็ด และมีเยื้อหุ้มเมล็ด (รก) สีแดงสด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก, ใบ, น้ำเลี้ยงจากต้น

สรรพคุณ รสสุคนธ์ :

  • ดอก  รสหอมขม เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน แก้อ่อนเพลีย มักใช้คู่กับเถาอรคนธ์
  • ใบ  รักษาโรคหิด ตำพอกใช้เป็นยาแก้ผื่นคัน ต้มดื่มใช้เป็นยาแก้ตกเลือดภายในปอด อมแก้แผลในปาก
  • น้ำเลี้ยงจากต้น  ผสมต้นหอมใช้รักษาฝีหนอง
Scroll to top