ลำเจียก

ชื่อสมุนไพร : ลำเจียก
ชื่ออื่น ๆ
: ลำปาง, ปะหนัน, รัญจวน, ลำจวน, เตยทะเล, การะเกด, ปาแนะ, กาแกด, ดอกกาบ
ชื่อสามัญ : Seashore screwpine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus odorifer (Forssk.) Kuntze
ชื่อวงศ์ : PANDANACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นลำเจียก เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะเป็นทรงพุ่ม มีความสูงของต้นประมาณ 5-6 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-20 เซนติเมตร โคนต้นมีรากอากาศช่วยค้ำจุนลำต้น ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อนๆ มีหนามแหลมสั้นกระจายอยู่ทั่วไป
    ลำเจียก
  • ใบลำเจียก ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว ออกเรียงสลับเวียนรอบกิ่งที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม ส่วนขอบทั้งสองข้างจะหยักและมีหนามแหลมคม ปลายหนามมีลักษณะโค้งไปทางปลายใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1 เมตร เนื้อใบเหนียว ใต้ท้องใบมีแกนกลาง
    ใบลำเจียก
  • ดอกลำเจียก จะโผล่ออกมาจากกลางลำต้นพอดี ซึ่งดอกนี้จะเริ่มบานในเวลาตอนเย็นและมีกลิ่นหอมฉุน
    ลำเจียก
  • ผลลำเจียก เป็นผลรวมคล้ายผลสับปะรด ลักษณะเป็นรูปกลมหรือขอบขนาน ผลมีลักษณะแข็ง ปลายมีหนามสั้นๆ ติดกันเป็นกลุ่มแน่น ผลอ่อนเป็นสีเขียวอมขาว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีส้มอมแดง และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปกระสวย สามารถออกผลได้ตลอดทั้งปี
    ลำเจียก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก , ดอก

สรรพคุณ ลำเจียก :

  • ราก ของลำเจียกมีรสเย็นและหวานเล็กน้อย นำมาปรุงเป็นยาแก้พิษเสมหะ พิษไข้ พิษเลือด ขับปัสสาวะ
  • รากอากาศ ที่โผล่ออกมาจากโคนต้นนั้น ปรุงเป็นยาแก้หนองใน แก้นิ่ว แก้ระดูขาวมีกลิ่นเหม็น แก้ปัสสาวะพิการ
  • ดอก รสหอมเย็น แก้ลม บำรุงหัวใจ

นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ขึ้นได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ดินเค็ม ชายน้ำ ชายหาด ลำคลอง หนอง บึง สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อม น้ำขังแฉะ น้ำเค็ม โรคและเมลงศัตรูพืชได้ดี และชาวบ้านนิยมชอบปลูกไว้เพื่อบังลม ต้นเตยทะเลสามารถทนต่อลมแรงและอากาศแล้งได้ดี อีกทั้งต้นเป็นพุ่มใหญ่ ใบและต้นมีหนาม จึงใช้ปลูกเป็นรั้วบ้านได้

Scroll to top