ชื่อสมุนไพร : ลิ้นมังกร
ชื่ออื่นๆ : เหล่งหลี่เฮียะ, เหล่งจิเฮี้ย (จีน-แต้จิ๋ว), หลงลี่เยียะ, หลงซื่อเยียะ(จีนกลาง)
ชื่อสามัญ : Dragon’s Tongue
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sauropus spatulifolius Beille
ชื่อวงศ์ : PHYLLANTHACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นลิ้นมังกร เป็นไม้กลางแจ้งยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง คองอเล็กน้อย และมีขนสั้น ๆ ปกคลุมอยู่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินชุ่มชื้นระบายน้ำดี เช่น ดินปนทรายหรือดินร่วนปนทราย
- ใบลิ้นมังกร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปมนรี ปลายใบมน โคนใบสอบแหลมเข้าหาก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบ หลังใบเป็นสีเขียวเข้มลาย ตามเส้นใบและท้องใบเป็นสีเขียวนวลหรือเขียวอ่อน เส้นโคนใบมีขน
- ดอกลิ้นมังกร ออกดอกเป็นช่อหรือออกเป็นกระจุกตามซอกใบและลำต้น ซึ่งดอกจะเรียงติดกันเป็นแถวสั้น ๆ คล้ายช่อดอก แต่จะแยกออกเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ดอกมีขนาดเล็กมีสีแดงม่วงหรือสีม่วงเข้ม ดอกหนึ่งมี 6 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปกลมรีมีเนื้อหนา ดอกมีเกสรเพศผู้ 3 อัน และเกสรเพศเมีย 3 อัน
- ผลลิ้นมังกร ลักษณะของผลคล้ายกับเม็ดถั่ว มีก้านสั้น ๆ ผลจะถูกกลีบเลี้ยงที่ขยายตัวหุ้มเอาไว้
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก
สรรพคุณ ลิ้นมังกร :
- ใบ รสสุขุม ชุ่มคอ ต้มดื่มแก้เจ็บคอ แก้ไอแห้ง บำรุงปอด แก้โรคติดเชื่อในทางเดินหายใจส่วนบน แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้หอบ หืด เสียงแห้ง ไอเป็นเลือด
- ดอก รสสุขุม ต้มดื่ม แก้ไอเป็นเลือด กระอักเลือด
ใบแก่มีรสขม ใช้แก้ไอแห้งๆ เจ็บคอ หอบหืด บำรุงปอด ไอเป็นเลือด เสียงแหบแห้ง และรักษาโรคที่ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน โดยใช้ใบแห้ง 10-30 กรัม หรือใบสด 7-8 กรัม นำมาต้มดื่มรักษาโรค ใช้ดอกสดต้มน้ำดื่มแก้กระอักเลือดและไอเป็นเลือด