สะระแหน่

ชื่อสมุนไพร : สะระแหน่
ชื่ออื่นๆ :
หอมด่วน หอมเดือน (ภาคเหนือ), ขะแยะ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), สะระแหน่สวน (ภาคกลาง), มักเงาะ สะแน่ (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ :  Mint  , Kitchen Mint, Spearmint , pepper mint.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mentha cordifolia  Opiz ex Fresen
ชื่อวงศ์ : LABIATAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นสะระแหน่ เป็นพืชประเภทไม้เลื้อยคลุมดิน ลำต้นพร้อมเลื้อย มีเฉพาะรากฝอย ขนาดเล็ก และสั้น ลำต้นสะระแหน่สูงประมาณ 15-30 ซม. ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม ผิวลำต้นมีสีแดงอมม่วงจนถึงปลายยอด ลำต้นสามารถแตกเหง้าเป็นต้นใหม่จนขยายเป็นกอใหญ่ และลำต้นแตกกิ่งแขนงจำนวนมาก ลำต้นทอดเลื้อยแผ่ไปตามดิน ลำต้นเป็นเหลี่ยม สีเขียวแกมม่วงน้ำตาล แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวมีสีเขียว ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย พื้นใบขรุขระ มีกลิ่นหอมฉุน ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ
  • ใบสะระแหน่ ใบสะระแหน่ ออกเป็น ใบเดี่ยว และออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกันบนกิ่ง ลำต้น ใบมีสีเขียว รูปทรงรี กว้างประมาณ 1.5 – 3.5 ซม. และยาวประมาณ 2 – 7 ซม. ผิวใบย่นเป็นลูกคลื่น ขอบใบหยัก ปลายใบมนหรือแหลม
  • ดอกสะระแหน่ ออกเป็นช่อ เหนือซอกใบบริเวณปลายยอด แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกมีสีชมพูอมม่วง ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอกที่เชื่อมติดกันเป็นกรวยตื้น 4 กลีบ ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะไม่ค่อยพบ
  • ผลสะระแหน่ ผลแห้ง ไม่แตก ขนาดเล็ก มีสีดำ มีรูปผลเป็นรูปกระสวย เปลือกผลเกลี้ยงมัน ทั้งนี้ ผลสะระแหน่มักไม่ติดผลให้เห็นบ่อยนัก เพราะมีดอกที่เป็นหมันเป็นส่วนใหญ่

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ

สรรพคุณ สะระแหน่ :

  • ใบ รับประทานสดหรือต้ม ชงน้ำดื่ม รักษาอาการท้องอืด ลดอาการเรอ อาหารไม่ย่อย อาเจียน และ ยังนำมาใช้เป็นยาทา ภายนอก ทาขมับแก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม พอกหรือทาแก้ปวดบวม ผื่นคัน ลดอาการร้อนใน ช่วยให้ชุ่มคอ ลดอาการเจ็บหรืออักเสบในคอ บรรเทาอาหารหวัด ช่วยย่อยอาหาร เจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี ลดอาการปวดท้อง ขับเหงื่อ ช่วยขับลม ช่วยลดกลิ่นปาก กลิ่นบุหรี่ อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการเกิดลมพิษหรือมีผื่นคัน ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ตา ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคมะเร็ง
    *ใช้สูดดม ลดอาการหวัด  ลดน้ำมูก ลดอาการแสบในลำคอ ทำให้รู้สึกเย็น บรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด และปวดศรีษะ
    *ใช้บี้ทาหรือประคบ ลดอาการปวดของแผลสดหรือแผลจากแมลงกัดต่อย ต้านเชื้อ ช่วยลดอาการอักเสบของแผล ทำให้แผลแห้ง และหายเร็ว ลดการลุกลามของเชื้อโรคผิวหนัง บรรเทาอาการคันตามผิวหนัง แก้ผื่นคันหรือลมพิษ นำใบบดขยี้ แล้วใช้อุดจมูกสำหรับลดอาการเลือดกำเดาออก
    *น้ำมันหอมระเหย ใช้ทานวดกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดบวม ใช้ทาผิวหนังลดอาการเป็นผื่นคัน
Scroll to top