หญ้าแส้ม้า

ชื่อสมุนไพร : หญ้าแส้ม้า
ชื่ออื่น
 : นังด้งล้าง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), สะหน่ำบล้อ (ปะหล่อง), ถิแบปี, โทเกงไก๊, แบเปียงเช่า, หม่าเปียนเฉ่า (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Verbena officinalis L.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหญ้าแส้ม้า จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นเล็กเป็นเหลี่ยม และมีขนแข็งรอบต้น
  • ใบหญ้าแส้ม้า ใบออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปกลมรี แยกแฉกคล้ายขนนก ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย หน้าใบและหลังใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย
  • ดอกหญ้าแส้ม้า ดอกมีขนาดเล็กออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นสีน้ำเงินม่วง รูปดอกเป็นหลอด เมื่อก้องแห้งและร่วงไปจะติดผลเป็นฝักยาว
  • ผลหญ้าแส้ม้า ผลมีลักษณะเป็นฝักยาว ผลแก่มีการแตกเมล็ดออก ผลมีเมล็ด 4 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแบนยาว

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น

สรรพคุณ หญ้าแส้ม้า :

  • ทั้งต้น รสเย็นขมเล็กน้อย แก้ฟกช้ำดำเขียว กระจายเลือดช้ำ แก้ปวดบวม แก้ตับอักเสบ แก้ตาเจ็บ แก้อักเสบในหู แก้บวม ขับปัสสาวะ แก้ระดูมาไม่ปกติ แก้ซางตานขโมย ตำพอก แก้บวม ฆ่าพยาธิผิวหนัง หิด ผื่นคัน สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน
Scroll to top