หว้า

ชื่อสมุนไพร : หว้า
ชื่ออื่นๆ :
ห้าขี้แพะ, หว้าป่า, หว้าขาว, หว้าขี้นก, หว้าขี้แพะ, จามาน, จามูน
ชื่อสามัญ : Jambolan plum, Java plum, Jambul
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium cumini (L.) Skeels
ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหว้า เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงมากประมาณ 10-35 เมตร ลักษณะของลำต้นตรง เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ
    หว้า
  • ใบหว้า เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร เส้นขอบใบปิด เส้นใบ 19-30 คู่ ก้านใบยาว 0.6-3 เซนติเมตร ใบมีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ
    หว้า
  • ดอกหว้า สีขาวหรือสีเหลืองอ่อนออกเป็นช่อที่ซอกใบหรือปลายยอด แกนช่อยาว 4.5-10 เซนติเมตร ฐานรองดอกรูปกรวย ขนาด 0.2-0.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ รูปกลมมน เกสรผู้จำนวนมาก
    ดอกหว้า
  • ผลหว้า เป็นผลสด รูปรีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ สีม่วงดำ ผิวมัน ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร
    หว้า

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกลำต้น, ใบ, ผล และ เมล็ด

สรรพคุณ หว้า :

  • เปลือกลำต้น แก้บิด ยากวาดคอ แก้ปากเปื่อย แก้คอเปื่อย เป็นเม็ดตามลิ้นและคอ แก้อาการน้ำลายเหนียวข้น
  • ใบ รักษาอาการบิด มูกเลือด ท้องเสีย
  • ผล แก้ท้องร่วงช่วยชะลอความแก่และความเสื่อมของเซลล์ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง บรรเทาอาการของวัณโรค และโรคปอด
  • เมล็ด รักษาอาการบิด มูกเลือด ท้องเสีย รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคผิวหนัง
Scroll to top