ชื่อสมุนไพร : เครืองูเห่า
ชื่ออื่น : ผักแปมป่า, เล็บรอก, เล็กลอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Toddalia asiatica (L.) Lam.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นเครืองูเห่า เป็นไม้เถาเนื้อไม้แข็ง กิ่งก้านเล็กเรียว เถาแก่มีปุ่มของนมหนามติดอยู่ทั่วไป ผิวสีน้ำตาลมีกระสีขาวเนื้อสีเหลือง เถาอ่อนสีเขียวมีหนามแหลมงุ้ม
- ใบเครืองูเห่า เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ 3 ใบ ใบย่อยรูปไข่ปลายสอบ ขอบใบจักเป็นซี่ถี่ๆ แผ่นใบสีเขียวเข้ม มีจุดน้ำมันกระจายทั่วใบ ยาว 5-10 ซม. มีกลิ่นคล้ายการบูร และตะไคร้
- ดอกเครืองูเห่า ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและง่ามใบ ออกแบบแยกเพศ ยาวถึง 17 เซนติเมตร กลีบดอก มี 5 กลีบ รูปไข่ถึงรูปรี สีเหลืองอ่อนแกมเขียว ยาว 1.0-3.5 มิลลิเมตร
- ผลเครืองูเห่า ลักษณะผลสด รูปไข่กลับสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีส้ม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 มิลลิเมตร มีต่อมน้ำมันที่ผิว กลิ่นคล้ายพริกไทย
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสด, เปลือกราก, เถา, ราก
สรรพคุณ เครืองูเห่า :
- ใบสด รสสุขุมหอม แก้ปวดท้อง ตำพอกหรือทาแก้โรคผิวหนัง
- เปลือกราก รสสุขุมหอม ขับเหงื่อ บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ท้องเสีย รักษามาลาเรียชนิดจับเว้นระยะ
- เถา รสสุขุม ต้มดื่ม แก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็น ขับปัสสาวะ แก้พิษโลหิต แก้พิษในข้อ ในกระดูก ในเส้นเอ็น แก้ไอ แก้พิษตานซาง ตานขโมย ขับพยาธิไส้เดือน แก้กามโรค แก้ปอดพิการ
- ราก รสสุขุมหอม ชงน้ำดื่มขับลม บำรุงกำลัง แก้เถาดานในท้อง แก้ปวดเสียดแทง แก้ริดสีดวงลำไส้ ตำพอกฝี
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ” style=”fancy” icon=”arrow-circle-2″]
*ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เถาต้มน้ำดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ หรือผสมกับสมุนไพรอื่นต้มน้ำดื่มแก้ปวดหลังปวดเอว
*ยอดอ่อน และผลอ่อนใช้รับประทานเป็นผักกับน้ำพริก ลาบ เป็นต้น[/su_spoiler]