ชื่อสมุนไพร : เทียนกิ่ง
ชื่ออื่น ๆ : เทียนต้น, เทียนไม้, เทียนย้อม, เทียนขาว, เทียนป้อม(ภาคกลาง), ฮวงกุ่ย, โจยกะฮวยเฮี๊ยะ(ประเทศจีน)
ชื่อสามัญ : Egyptian Rrivet, Henna Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lawsonia inermis L.
วงศ์ : LYTHRACEAE
ลักษณะทางพฤกษศษศตร์ :
- ต้นเทียนกิ่ง เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นมีกิ่งก้านสาขามาก มีความสูงราว 3-6 เมตร ลักษณะของกิ่งก้านเมื่อยังอ่อนมีรูปเป็นเหลี่ยมเกลี้ยงไม่มีขน
- ใบเทียนกิ่ง ใบมีขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นรูปรี ปลายใบแหลมโค้ง โคนใบแหลมเรียวสอบเข้าหากัน ขนาดของใบยาวประมาณ 2-4.5 ซม. กว้างประมาณ 1-1.5 ซม. ก้านใบสั้น
- ดอกเทียนกิ่ง ดอกออกเป็นช่อติดกันเป็นกระจุกยาว ซึ่งออกบริเวณยอดกิ่งลักษณะของดอก เป็นสีเหลืองอมเขียว กลีบดอกแยกเป็น 4 กลีบ ปลายกลีบมน มีรอยยับย่นกลีบดอกมีขนาดยาวประมาณ 3-5 มม. ฐานดอกมีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันยาวประมาณ 2-2.5 มม. กลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมีย ดอกบานเต็มที่มีขนาดกว้างประมาณ 8-10 มม.
- ผลเทียนกิ่ง มีลักษณะเป็นรูปกลม คล้ายกับเมล็ดพริกไทย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-7 มม. ผลเมื่อสุกหรือแก่เต็มที่มีสีน้ำตาล ข้างในมีผลเมล็ด มีรูปเป็นเหลี่ยม เป็นจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ
สรรพคุณ เทียนกิ่ง :
- ใบ รสฝาดเฝื่อน ใช้แก้กลากเกลื้อน แก้น้ำเหลืองเสีย พอกสมานบาดแผล รักษาแผลมีหนอง ตำกับขมิ้นและเติมเกลือเล็กน้อยพอกแก้เล็บขบ เล็บถอด เล็บช้ำ หรือเป็นหนอง แก้ปวดนิ้วมือนิ้วเท้า ถอนพิษปวดแสบปวดร้อน ฝี แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลฟกช้ำ ผิวหนังอักเสบ ห้ามเลือด ใช้เป็นเครื่องสำอาง พอกเล็บ เป็นยาย้อมผม และขน
- ยอดอ่อน รสฝาด ใช้ยอดอ่อนประมาณ 1 กำมือ ต้มดื่มแก้ท้องร่วงในเด็ก
- ใบและยอดอ่อน รักษาโรคเชื้อราที่เล็บ พอกหุ้มเล็บแก้เล็บขบ กันเล็บถอด เล็บช้ำ แก้ท้องเสีย สารมีสีในใบแห้ง ใช้ย้อมผม ย้อมผ้า และขนสัตว์ ให้สีน้ำตาลแดง
- ราก ใช้ขับประจำเดือน รักษาตาเจ็บ ขับปัสสาวะ รักษาโรคลมบ้าหมู
- เปลือก ขับน้ำเหลืองเสียในโรคเรื้อน
- ดอก ใช้ขับประจำเดือน แก้ปวดศรีษะ รักษาดีซ่าน ผล ใช้ขับประจำเดือน