ชื่อสมุนไพร : แจง,
ชื่ออื่นๆ : แกง (นครราชสีมา), แก้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Maerua siamensis (Kurz) Pax.
ชื่อวงศ์ : Asclepiadaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นแจง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-10 เมตร ลำต้นเกลี้ยง เปลือกสีเทาดำ แตกกิ่งแขนงมากมาย
- ใบแจง ใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกสลับกัน มีใบย่อย 3-5 ก้าน ใบยาว 1.5-6.5 เซนติเมตร ใบย่อยเกือบไร้ก้าน รูปไข่กลับ ใบ รูปหอกเรียวเล็กลับหรือขอบขนาน สีเขียวเข้มทึบ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-13 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมน ผิวใบเรียบ ก้านใบย่อยสั้น
- ดอกแจง ช่อแบบกระจุกหรือดอกเดี่ยว จะเกิดตามกิ่งและปลายกิ่ง ช่อสั้นๆ ดอกย่อยมีสีเขียวอมขาว ก้านดอกยาว2-6 เซนติเมตร มีใบประดับ รูปริบบิ้น ขนาดเล็ก กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบโคนเชื่อมกัน รูปขอบขนานยาว 0.7-1 เซนติเมตร. ปลายกลีบแหลม ผิวกลีบเรียบ ขอบกลีบเป็นขนนิ่ม ไม่มีกลีบดอก ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร. เกสรเพศผู้ 9-12 อัน ก้านเกสรยาว 10-15 มิลลิเมตร. อับเรณูรูปขอบขนาน ยาว 1.5-2 มิลลิเมตร. ปลายอับเรณูเป็นติ่ง ก้านชูเกสรเพศเมีย ยาว 1.5-2 เซนติเมตร. รังไข่รูปทรงกระบอก ยาว 1.5-2 มิลลิเมตร.
- ผลแจง ออกเดือนมีนาคม – พฤษภาคมทุกปี เป็นผลสด รูปรี หรือทรงกลมเท่าหัวแม่มือ บิดเบี้ยวเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ก้านผลยาว 4.5-7.5 เซนติเมตร. เมื่อผลสุกจะมีสีเหลืองเข้ม ภายในผลจะมีเมล็ดประมาณ 2-3 เมล็ด เมล็ดรูปไต
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ต้น, ใบ, เปลือก, แก่น, ยอด, ทั้ง5
สรรพคุณ แจง :
- รากแจง ปรุงรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปัสสาวะพิการ แก้กระษัย ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ นำมาต้มเอาไอน้ำอบแก้บวม
- เปลือกแจง รากแจง และใบแจง ต้มน้ำดื่มแก้ดีซ่าน หน้ามืด ตาฟาง ไข้จับสั่น
- ต้นแจง มีคุณสมบัติเหมือนราก แต่มีคุณสมบัติมากกว่ารากตรงที่แก้แมงกินฟัน ทำให้ฟันทน
- ใบแจง และยอด ตำใช้สีฟัน แก้แมงกินฟันทำให้ฟันทน และแก้ไข้
- เปลือกแจง บำรุงกำลัง แก้หน้ามืดตาฟาง แก้ปัสสาวะพิการ แก้กระษัยปวดเมื่อยตามร่างกาย และเปลือกไม้
- รากแจง ต้มอาบอบ กิน แก้อัมพฤกอัมพาต
- ยอดอ่อนแจง ผสมเกลือ รักษาโรครำมะนาด แก้ปวดฟัน
- แก่นแจง แก้ไข้ตัวร้อน
- ใช้ทั้งห้า แก้ไข้จับสั่น แก้ดีพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
- ยอดอ่อนแจง นำมาต้ม ล้างหน้าแก้ตาฝ้าฟาง