โกฐสอ

ชื่ออื่น : โกฐสอ, แปะจี้, แป๊ะลี้(จีนแต้จิ๋ว), ไป๋จื่อ(จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Angelica dahurica Benth.
ชื่อวงศ์ : Umbelliferae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นโกฐสอ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นค่อนข้างสูงประมาณ 1-2.5 เมตร ลำต้นตั้งตรงอวบสั้น รากมีลักษณะอวบใหญ่เป็นรูปกรวยยาว ไล่ลำดับจากใหญ่ไปหาเล็ก เนื้อแน่นแข็ง อาจมีแยกแขนงที่ปลาย
  • ใบโกฐสอ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ออกเรียงเวียน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม ก้านใบยาว โคนใบแผ่เป็นกาบ ส่วนใบย่อยไม่มีก้าน มีลักษณะเป็นรูปรีแคบถึงรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบเป็นครีบเล็กน้อย ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่าง ๆ
  • ดอกโกฐสอ ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่มเชิงประกอบ โดยจะออกตามง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาว ใบประดับไม่เกิน 2 ใบ คล้ายกาบหุ้มช่อดอกเมื่อยังอ่อนอยู่ โดยทั่วไปมักมีช่อประมาณ 18-40 ช่อ มีขนสั้น ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ
  • ผลโกฐสอ ผลเป็นแบบผลแห้งแยก ลักษณะของผลเป็นรูปรีกว้าง ด้านล่างแบนราบ สันด้านล่างกว่าร่อง ส่วนสันด้านข้างจะแผ่เป็นปีกกว้าง ตามร่องจะมีท่อน้ำมัน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัว-เหง้า

สรรพคุณ โกฐสอ :

  • ใช้แก้ไข้ แก้หืด แก้ไอ ทำหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้เสมหะเป็นพิษ แก้สะอึก แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไข้จับสั่น  จีนนิยมใช้ยานี้มานานแล้ว โดยมักใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด แก้ปวดหัว โพรงจมูกอักเสบ แก้ปวดฟัน  แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้อาการทางผิวหนังต่างๆ เช่น แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก บวม แก้ริดสีดวงจมูกโดยเตรียมเป็นยานัตถุ์ จีนถือว่ายานี้เป็นยาเฉพาะสตรี จึงใช้ยานี้เป็นยาเกี่ยวกับระดู เช่น ใช้แก้ตกขาว อาการปวด บวมแดง นอกจากนั้นยังใช้ผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าหลายชนิด
Scroll to top