ชื่อสมุนไพร : ไคร้น้ำ
ชื่ออื่นๆ : ไคร้หิน, ไคร้, แร่, แลแร, สี่ทีโค่, กะแลแร, แกลแร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Homonoia riparia Lour.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นไคร้น้ำ เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 2-4 เมตร
- ใบไคร้น้ำ เป็นใบเดี่ยว รูปยาวแคบแกมรูปหอก ขนาดกว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 7-18 ซม. โคนและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้ม ท้องใบมีเกล็ดขนาดเล็ก ก้านใบยาว 4-11 มม.
- ดอกไคร้น้ำ มีสีแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ ยาว 3-11 ซม. ดอกย่อยแยกเพศ ไมมีกลีบดอก ดอกเพศผู้ กลีบรองดอกรูปกลม แยกเป็น 3 แฉก เกสรผู้จำนวนมาก ดอกเพศเมีย กลีบรองดอกรูปไข่ปลายแหลม
- ผลไคร้น้ำ เป็นผลแห้ง ทรงกลม ขนาด 5-8 มม. มีขน เมล็ดรูปไข่ ขนาด 2 มม.
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, แก่น, ต้น, ยางจากต้น, ใบ, ผล
สรรพคุณ ไคร้น้ำ :
- รากไคร้น้ำ มีรสจืด ใช้ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ปัสสาวะพิการ แก้ชำรั่ว
- แก่นไคร้น้ำ ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้
- ต้นไคร้น้ำ นำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาขับเหงื่อ
- ยางจากต้นไคร้น้ำ กินแก้ไข้มาลาเลีย
- ใบ, ผลไคร้น้ำ ใช้ตำพอกแก้ผิวหนังผื่นคันบางประเภท โดยให้ดื่มน้ำต้มใบและผลด้วย
[su_spoiler title=”แหล่งข้อมูลอ้างอิง :” style=”fancy” icon=”folder-2″]วีระชัย ณ นคร. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์, 2544[/su_spoiler]