ชื่อสมุนไพร : ไผ่ป่า
ชื่ออื่นๆ : ไผ่หนาม, (ภาคกลาง), ซางหนาม, ชาน (ภาคเหนือ), ชารอง (นครพนม), ทะงาน, ชอง (ตราด), ไผ่รวก (กาญจนบุรี), วาคะยู (กะเหรี่ยง), ระไซ (เขมร สุรินทร์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa bambos (L.) Voss
ชื่อวงศ์ : POACEAE (GRAMINEAE)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นไผ่ป่า ไผ่ขนาดใหญ่ กอแน่น มีหนาม และมีแขนงรกแน่น โดยเฉพาะตรงบริเวณโคน สูงประมาณ 10-24 ม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-18 ซม. ปล้องยาวประมาณ 20-40 ซม. เนื้อหนา 1-5 ซม. ลำอ่อนมีสีเขียว ลำแก่จะมีสีเขียวเหลือง ข้อมีลักษณะบวมเล็กน้อย รูกระบอกเล็ก กาบหุ้มลำลักษณะแข็งเหมือนหนัง ร่วงหลุดได้ง่าย ยาว 30-40 ซม. กว้าง 20-30 ซม. ตอนปลายกลม ขอบเรียบและมีขนสีทอง ลำใหญ่กว้าง กระจับกาบหุ้มลำแคบ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก
สรรพคุณ ไผ่ป่า :
- ราก รสเค็มกร่อย แก้ไข้กาฬ บำรุงเสมหะและโลหิต ขับปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาว
- ใบ ขับและฟอกโลหิต ขับระดูขาว แก้มดลูกอักเสบ