ไผ่รวก

ชื่อสมุนไพร : ไผ่รวก
ชื่ออื่นๆ :
ตีโย, รวก, ฮวก, ไม้รวก, ไม้ฮวก,  แวบ้าง, สะลอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thyrsostachys siamensis Gamble
ชื่อวงศ์ : Gramineae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ไผ่รวก เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี เป็นไม้พุ่มเป็นกอ ลำต้นตั้งตรง กลม เป็นทรงกระบอกกลวง ขนาด 2- 5 ซม. ผิวเกลี้ยง สีเขียวอมเทา ไม่มีหนาม เนื้อแข็ง มีข้อปล้องชัดเจนแต่ละปล้องจะยาว 15-30 ซม. มีเหง้าใต้ดินสั้น ไม่ทอดขนานไปทางระดับ
    ไผ่รวก
  • ใบไผ่รวก ใบเดี่ยวเรียงสลับ 2 แถว ใบรูปหอก กว้าง 0.6-1.2 ซม. ยาว 8-14 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ไผ่รวกขอบใบเรียบคม ผิวใบด้านบนเรียบ สีเขียวอ่อน ใบแก่สีเหลืองอ่อน มีเส้นลายใบข้างละ 3 – 5 เส้น มีกาบหุ้มลำต้นบางแนบชิดลำต้น ไม่หลุดร่วง ยอดกาบบางเรียวสอบไปหาปลาย ไม่มีติ่ง กาบตอนปลายกาบตรงที่ต่อกับใบจะมีลิ้นใบ

 

  • ดอกไผ่รวก เป็นช่อแยกแขนง ดอกมีขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอก
  • ผลไผ่รวก เป็นผลแห้งไม่แตก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, หน่อ, ตา, ใบ

สรรพคุณ ไผ่รวก :

  • ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ ปวดแสบลิ้นปี่
  • หน่อ กินได้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก บำรุงร่างกาย แก้ตับหย่อน ตับทรุด ม้ามย้อย
  • ตาและใบ ขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย
Scroll to top