ผักกาดนกเขา

ชื่อสมุนไพร : ผักกาดนกเขา
ชื่ออื่นๆ :
ผักบั้ง, ลิ้นปี่, หูปลาช่อน, ผักแดง, หางปลาช่อน, เฮียะเออัง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Emilia sonchifolia (L.) DC.ex Wight
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE (COMPOSITAE)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นผักกาดนกเขา เป็นพืชริมฝั่งอายุปีเดียว มีอายุสั้น ตั้งแต่งอกจนตายประมาณ 50-60 วัน ลำต้นมักแตกแขนงและมักทอดเอียงเล็กน้อยแล้วตั้งขึ้น สูง 20-50 เซนติเมตร ลำต้นผิวเกลี้ยงมีคราบสีขาว
  • ใบผักกาดนกเขา มีลักษณะยาวปลายมน ขอบใบโค้งหยักเล็กน้อย เป็นประเภทใบเดี่ยว เกิดสลับตำแหน่ง-ตรงกันข้าม มีขนอ่อนๆปกคลุมทั่วใบ ก้านใบห่อหุ้มลำต้น หลังใบมีสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีม่วงแดง ส่วนก้านใบและยอดสีเขียวนวล
    ผักกาดนกเขา
  • ดอกผักกาดนกเขา ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปรี ฐานรองช่อดอกแผ่ออก กาบประดับ รูปกรวยหรือค่อนข้างกลม กลีบย่อยจำนวนมาก สีแดงหรือสีชมพูเข้ม เกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน อับเรณู ปลายแผ่ออก รังไข่ค่อนข้างรี มีขนสั้น ปลายเกสรแยก 2 อัน ขนาดเล็กสีเหลืองหรือสีน้ำตาล รูปขอบขนาน มีขนปุยสีขาวปลิวลม
  • เมล็ดผักกาดนกเขา ลักษณะของเมล็ด มีขนาดเล็ก ลักษณะแบนรี สีน้ำตาล อมดำ ตรงปลายมีขนสีขาว และปลิวตามลมได้ง่าย

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ทั้งต้น, เหง้า

สรรพคุณ ผักกาดนกเขา :

  • ใบ รสเฝื่อนเย็น คั้นเอาน้ำแก้คออักเสบ แก้เจ็บคอ
  • ทั้งต้น รสเฝื่อนเย็น แก้ไฟลามทุ่ง ฟอกเนื้องอกที่เต้านม แก้ปวดบวม
  • เหง้า รสเฝื่อน แก้บิด ห้ามเลือด แก้มดลูกอักเสบ ชงกับชาดื่มหลังคลอด ขับประจำเดือน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ผักกาดนกเขาในธรรมชาติสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพพื้นที่ ที่มีแสงแดดส่งถึง ไม่มีน้ำท่วมขัง เช่น ทุ่งนา ทุ่งร้าง และตามไร่สวน เป็นต้น

ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อนกินเป็นผักเหนาะ จิ้มน้ำพริก แกงเลียง แกงคั่วพริกกับปลาย่าง

Scroll to top