เปล้าเงิน

ชื่อสมุนไพร : เปล้าเงิน
ชื่ออื่นๆ :
เปล้าน้ำเงิน, เปล้าหลังเงิน, กะโดนหิน, เป้าน้ำเงิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton cascarilloides Raeusch
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • เปล้าเงิน เป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก สุง 1-3 เมตร กิ่งก้านเรียวเล็ก
  • ใบเปล้าเงิน เป็นใบเดี่ยว ติดหนาแน่นเป็นช่วงๆ กใล้ปลายกิ่ง รูปขอบขนานแกมรูปหอก ขอบใบเรียบหรือเปล้าเงินหยักเพียงเล็กน้อย โคนใบสอบแคบ ปลายใบแหลม กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 5-16 เซนติเมตร ด้านล่างปกคลุมด้วยเกล็ดสีเงินปนสีน้ำตาลหนาแน่น ก้านใบยาว 16 เซนติเมตร

 

 

  • ดอกเปล้าเงิน สีขาวครีม ออกเป็นแกนช่อที่ปลายยอด มักจะออกทีละ 2 ยอด ยาว 1.5-7 เซนติเมตร ดอกทั้งเปล้าเงินสองเพศอยู่บนช่อดอกเดียวกัน ดอกเพศผู้รูปกลม ขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ เกสรผู้ 15 อัน ดอกเพศเมียขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ กลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะคล้ายเส้นด้ายยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร

 

 

  • ผลเปล้าเงิน มีลักษณะเป็น 3 พูติดกัน ขนาดผ่าศูนย์กลาง 6-7 มิลลิเมตร สีเขียว เมล็ดรูปรี ด้านหนึ่งแบนเปล้าเงินยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร

 

 

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, เปลือกต้น, ราก, แก่น

สรรพคุณ เปล้าเงิน :

  • ใบ รสร้อน ใช้สูบแทนบุหรี่
  • เปลือกต้นและราก รสเฝื่อน ต้มดื่มแก้ไข้ แก้อาเจียน
  • เปลือกต้นและแก่น ต้มดื่มบำรุงโลหิตสตรีให้สมบูรณ์

พบตั้งแต่ตอนใต้ของจีน คาบสมุทรอินโดจีน จนถึงมาเลเซีย ขึ้นกระจัดกระจายตามไหล่เขาในป่าดงดิบและตามที่ราบในป่าโปร่ง เหนือระดับน้ำทะเลไม่เกิน 400 เมตร ติดดอกออกผลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม

  1. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2
Scroll to top