ปอบิด

ชื่อสมุนไพร : ปอบิด
ชื่ออื่น ๆ
: ปอทับ, ปอลิงไซ, ปอปิด, มะปิด (ภาคเหนือ), ซ้อ, ช้อ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), บิด, มะปิด (พายัพ), ลูกบิด, ชะมด (ภาคกลาง), หั่วสั่วหมา (จีนกลาง), ห้วยเสาะมั้ว (แต้จิ๋ว),เข้าจี (ลาว)
ชื่อสามัญ : East Indian Screw Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helicteres isora Linn.
ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นปอบิด เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นกอตั้งแต่โคนต้น ทุกส่วนมีขนสีต้นปอบิดน้ำตาลปกคลุม กิ่งอ่อนมีขนรูปดาวหนาแน่น มีช่องอากาศ เปลือกลำต้นเรียบ มียางเหนียว

 

 

 

  • ใบปอบิด เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนรูปไข่ กว้าง 5.5-7.5 ซม. ยาว 8.5-15 ซม. ปลายใบเป็นแฉก ไม่เป็นปอบิดระเบียบ 3-5 แฉก แฉกกลางสุดยาวคล้ายหาง โคนใบกลมหรือรูปหัวใจ ขอบหยักคล้ายฟันปลา แผ่นใบกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนมีขนสากคาย ด้านล่างมีขนรูปดาว หรือขนสั้นหนานุ่ม เส้นโคนใบ 3-5 เส้น เส้นใบย่อย แบบขั้นบันไดชัดเจนทางด้านล่าง ก้านใบ ยาว 0.5-2 ซม. มีขน หูใบรูปแถบ ยาว 3-7 มม.

 

  • ดอกปอบิด แบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ มี 5-8 ดอก ก้านช่อดอกสั้น ก้านดอก ยาว 3-5 มม. มีขน ใบปอบิดประดับและใบประดับย่อย รูปแถบ ยาว 3-5 มม. กลีบเลี้ยงมีสีเหลืองอมเขียวอ่อน ยาว 1-2 ซม. เบี้ยว ติดทน มีขนรูปดาวถึงขนสั้นหนานุ่ม โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 2-2.5 ซม. ปลายแยกเป็นแฉก ไม่เท่ากัน 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม ยาว 5-9 มม. กลีบดอกสีแดงอมส้ม มี 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน รูปหอกกลับ ยาว 2.5-3 ซม. โค้งพับลง กลีบคู่บนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ปลายกลีบมน เกสรเพศผู้และเพศเมีย มีก้านชูยื่นยาว โผล่พ้นกลีบดอกออกมามาก เกสรเพศผู้สีเหลือง 10 อัน โคนเชื่อมกันเป็นหลอด รูปถ้วย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ อยู่ภายในหลอด ก้านชูอับเรณู มีขนหนาแน่น มี 5 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก เกสรตัวเมีย 5 อัน
  • ผลปอบิด แบบผลแห้งแตก สีน้ำตาลเข้ม มีขนปกคลุม ผลรูปทรงกระบอก ผิวไม่เรียบ สากมือ กว้าง 7-10 ปอบิดมม. ยาว 3-6 ซม. ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่มีสีน้ำตาลหรือดำ ผลเป็นฝักกลมยาวบิดเป็นเกลียวเหมือนเกลียวเชือก หลังผลแตก ฝักจะอ้าออกเห็นเมล็ดรูปกึ่งสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด สีน้ำตาล ยาว 2-2.5 มม. เกลี้ยง

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกลำต้น, ผล, ราก, ทั้งต้น

สรรพคุณ ปอบิด :

  • เปลือกต้น  ราก  และผล  รสขม ฝาดเล็กน้อย เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อม้าม ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้กระเพาะอาหาร หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือเป็นแผล แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ไข้หวัดตัวร้อน ขับเสมหะ ขับลม แก้บิด ปวดเบ่ง
  • เปลือกต้น ราก  รสฝาดเฝื่อน บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง แก้บิด ขับเสมหะ
  • ผล  รสฝาด แก้ปวดท้อง แก้กระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลม ขับเสมหะ แก้เสมหะพิการ แก้บิด แก้ท้องเสีย ปวดเบ่ง ตำพอกแก้เคล็ด ขัด บวม ใช้ภายในหรือภายนอก แก้โรคทางลำไส้ โดยเฉพาะในเด็ก แก้บิด
  • ผล เปลือก ฝาดสมานให้เส้นเอ็น
  • ทั้งต้น  แก้กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง
Scroll to top