ตะบองเพชร

ชื่อสมุนไพร : ตะบองเพชร
ชื่ออื่น :
 เขียะ, หนามเขียะ(ภาคเหนือ), กระบองเพชร, ตะบองเพชร(ภาคกลาง), ปะทำมังหลวง(เชียงใหม่), ตุมาซี้(มลายู-นราธิวาส)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cereus hexagonus (L.) Mill.
ชื่อวงศ์ : CACTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นตะบองเพชร เป็นไม้พุ่ม อวบน้ำ ลำต้นและกิ่งกลม ตั้งตรง หยักลึกเป็นร่องโดยรอบ 3-7 สัน อาจมีได้ถึง 11 สัน สูง 3-15 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 ซม. คอดตรงรอยต่อ แตกหน่อที่โคน เมื่อแรกเป็นสีเขียวอมน้ำเงินอ่อน สันบาง เป็นคลื่น ร่องลึก 3-5 ซม. ขุมหนามห่างกัน 1-2.5 ซม. แต่ละขุมมีหนามจำนวนไม่เท่ากัน ตามธรรมชาติมีได้ถึง 14 อัน หนามยาว 0.7-3.5 ซม. ถ้าเป็นไม้ปลูกมีหนามน้อย
  • ดอกออกเดี่ยวๆ ใกล้ยอด เส้นผ่านศูนย์กลาง 15-20 ซม. โคนกลีบรวมติดกันเป็นรูปกรวย กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 6-9 ซม. กลีบรวมชั้นนอกสีเขียว น้ำตาลอมเขียว หรือแดงอมม่วงแดง รูปขอบขนาน ปลายแหลม กลีบรวมชั้นในสีขาว รูปขอบขนานปลายแหลม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแฉกหลายแฉก รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ
  • ผลรูปไข่ กว้าง 4-10 ซม. ยาว 5.5-13 ซม. สุกสีแดง มีขนเล็กน้อย เนื้อในสีขาว มีเมล็ดมาก เมล็ดสีดำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ต้น, หนาม

สรรพคุณ ตะบองเพชร :

  • ต้น รสจืดเย็นเฝื่อเล็กน้อย พอกดับพิษฝีหนอง แก้ปวดบวมแสบร้อน ลดความอยากอาหาร ช่วยให้ระบบการขับถ่ายเป็นปกติ ป้องกันโรคริดสีดวง
  • หนาม รสเฝื่อน แก้มะเร็ง ฝีภายนอกภายใน (เวลาไปตัดหนามให้ไปตัดก่อนพระอาทิตย์ขึ้น อย่าให้เงาเราไปทับต้น)

[su_quote cite=”The Description”]กระบองเพชรเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดแถบทะเลทราย ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ใช้สร้างไขมัน พร้อมทั้งกระตุ้นให้ร่างกายนำไขมันสะสมมาเผาผลาญได้ดีขึ้น และยังอุดมด้วยเส้นใยคุณภาพสูง ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด อุ้มน้ำได้ดี จึงช่วยลดความอยากอาหาร ช่วยให้ระบบการขับถ่ายเป็นปกติ ป้องกันโรคริดสีดวง[/su_quote]

Scroll to top