จิกน้ำ

จิกน้ำ

ชื่อสมุนไพร : จิกน้ำ
ชื่ออื่น :
 จิกนา, กระโดนทุ่ง, กระโดนน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.
ชื่อวงศ์ : BARRINGTONIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นจิกน้ำ เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือแผ่กว้าง มีลำต้นเป็นปุ่มปม เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสันแหลมตามยาว กิ่งก้านมักคดงอ ปลายกิ่งมักลู่ลง
  • ใบจิกน้ำ มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบออกเวียนสลับถี่ที่บริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหรือรูปไข่หัวกลับ หรือรูปรี โคนใบแหลม ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบเป็นจักถี่ ๆ ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มและมีขน ใบมีขนาดใหญ่เป็นมันสวย เมื่อเวลามีดอกจะทิ้งใบ เหลือเพียงแต่ใบอ่อนสีแดง
  • ดอกจิกน้ำ ออกดอกเป็นช่อกระจายที่ปลายกิ่ง ดอกห้อยลงมาเป็นระย้า ยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดทนอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสั้น ปลายแยกเป็น 4 กลีบ มีสีแดงหรือสีชมพู หลุดร่วงได้ง่าย เมื่อบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่เป็นฝอย ๆ สีชมพูหรือสีแดงจำนวนมาก
  • ผลจิกน้ำ เป็นรูปขอบขนานหรือทรงกลม มีสันเป็นเหลี่ยม 4 สัน เรียงตามความยาวของผล ในผลมีเมล็ดจิกน้ำ อยู่ 1 เมล็ด ลักษณะคล้ายรูปไข่

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, เมล็ด, ผล, เปลือกต้น, เนื้อไม้, ราก

สรรพคุณ จิกน้ำ :

  • ใบจิกน้ำ รสฝาดมัน แก้ท้องเสีย แก้บิดมูกเลือด ปิดธาตุ แก้อุจจาระพิการ
  • เมล็ดจิกน้ำ รสร้อน แก้แน่นจุกเสียด เป็นยาร้อนใช้หลังคลอด แก้เยื่อตาอักเสบ ทำยานัตถุ์แก้ปวดศีรษะ บดผสมขิงบดกินทำให้อาเจียน และขับเสมหะ
  • ผลจิกน้ำ รสฝาดร้อน แก้หืดไอ แก้หวัด
  • เปลือกต้นจิกน้ำ รสร้อนเมา สมานแผล แก้ไข้ป่า แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้เลือดออกตามไรฟัน ใช้เบื่อปลา
  • เนื้อไม้จิกน้ำ รสขื่น ขับระดูขาว
  • รากจิกน้ำ รสขื่นขม ระะบายท้อง ทำให้อาเจียน แก้หวัด ขับเสมหะ
Scroll to top