แคฝอย

แคฝอย

ชื่อสมุนไพร : แคฝอย
ชื่ออื่น ๆ
: แคหิน แคหันแห้ (ลำปาง), แคนา แคทราย แคสัก (ราชบุรี), แคเขา (สุราษฎร์ธานี), แคขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stereospermum fimbriatum  (Wall. ex  G.Don) A.DC.
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นแคฝอย เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงได้ประมาณ 25 เมตร แตกกิ่งก้านมาก เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลและแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ หลุดล่อนออก
  • ใบแคฝอย เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ยาวประมาณ 25-45 เซนติเมตร ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 3-5 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลมเรียวเป็นติ่งแหลมสั้น โคนใบสอบมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-13 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ ผิวใบด้านท้องใบมีต่อมสีคล้ำกระจายอยู่
  • ดอกแคฝอย ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นสีขาวปนเหลืองและมีกลิ่นหอม กลีบดอกเป็นรูประฆังโค้งสีขาว มีแต้มสีเหลืองกลางดอก ยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบตั้งและกลีบปากแผ่ขยาย ขอบกลีบย่น ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกสั้น 3-5 แฉก สีม่วงแดงหรือสีน้ำตาลแกมม่วง ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน แบ่งเป็นอันสั้น 2 อัน และยาว 2 อัน ติดที่โคนกลีบดอก ดอกบานตอนกลางคืนหรือเข้ามืดและร่วงตอนเช้า
  • ฝักแคฝอย มีลักษณะเป็นฝักยาว โค้งและบิด เป็นสัน 4 สัน ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-55 เซนติเมตร เมื่อแห้งจะแตกออกได้ ภายในมีเมล็ดมีปีก เมล็ด ลักษณะเป็นเมล็ดมีปีกสองด้าน สีขาวกว้างประมาณ1.8-2.1 เซนติเมตร  ยาวประมาณ 0.8-1.9  เซนติเมตร  (รวมทั้งปีก) มี 20-50 เมล็ดต่อฝัก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, เปลือก, เนื้อไม้

สรรพคุณ แคฝอย :

  • ใบแห้ง  ใช้ในการรักษาบาดแผล
  • เปลือกไม้  ใช้ทา ล้างแผลเปื่อยแผลพุพอง และเปลือกไม้และใบไม้ ใช้ผสมกันรักษาโรคซิฟิลิสและโกโนเรีย
  • เนื้อไม้  มีรสเฝื่อน ฝาด แก้ท้องบวม ขับพยาธิ ตกเลือด
Scroll to top