ชื่อสมุนไพร : กานพลู
ชื่ออื่น ๆ : กานพลู, กานพลู(ภาคกลาง) ดอกจันทร์ (เชียงใหม่) จันจี่ (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : clove
ชื่อวิทยาศาสตร์ : cloveEugsnia Aromatica (Caryophyllum) Eugenia caryophyllus Bullock & Harrison
ชื่อวงศ์ : MYYRTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นกานพลู เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูง ราว9-15 เมตร ผิวของมันเป็นสีเหลืองน้ำตาล
- ใบกานพลู เป็นสีเขียวเข้ม ผิวของใบเรียบมัน ค่อนข้างหนา ใบยาวประมาณ 4 นิ้ว กว้างประมาณ 2 นิ้ว รูปลักษณะของมันปลายและโคนใบแหลม เป็นรูปยาวรี
- ดอกกานพลู เป็นสีเขียวอมแดงเลือดหมู หรือสีขาวอมเขียว ดอกจะออกเป็นกระจุก หรือเป็นช่อ ประมาณ 15-20 ดอก คล้ายดอกขจร
- ผลกานพลู มีสีน้ำตาลเข้ม ผลของมันมีขนาดยาวประมาณ 1 ซม. และมีขนาดยาวประมาณ1 ซม. และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.3-0.4 ซม.
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก, น้ำมันกานพลู
สรรพคุณ กานพลู :
- ใบ รสร้อน แก้ปวดมวน
- เปลือกต้น รสร้อนปร่า แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ
- ดอก รสเผ็ดร้อนปร่า เป็นยาแก้พิษโลหิต แก้ปวดท้อง แก้ลมเป็นเหน็บชา แก้พิษน้ำเหลือง แก้อุจจาระให้เป็นปกติ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดฟัน แก้หืด ละลายเสมหะ ดับกลิ่นปาก เป็นต้น
ดอกเมื่อตากแห้งแล้วจะเป็นสีแดงน้ำตาล นำมากลั่นใช้ 0.12 – 0.3 กรัม จะเป็นยาแก้ท้องขึ้น ธาตุพิการ ขับผายลมในลำไส้ เป็นยาบำรุง - ผล รสร้อนปร่า เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม นิยมใช้เป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหาร
- น้ำมันกานพลู รสเผ็ดร้อนปร่า เป็นยาระงับการชักกระตุก แก้ปวดท้อง ขับผายลม และแก้อาการปวดฟัน ทำให้ผิวหนังชา
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม และปวดท้อง” icon=”arrow”]ใช้ดอกกานพลูโตเต็มที่ ที่ยังตูมอยู่ 4-6 ดอก หรือ 0.25 กรัม ในผู้ใหญ่ – ใช้ทุบให้ช้ำ ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว ในเด็ก – ใช้ 1 ดอก ทุบแล้วใส่ลงในขวดนม เด็กอ่อน – ใช้ 1 ดอก ทุบใส่ในกระติกน้ำที่ไว้ชงนม ช่วยไม่ให้เด็กท้องขึ้นท้องเฟ้อได้[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ยาแก้ปวดฟัน” icon=”arrow”]ใช้นำมันจากการกลั่นดอกตูมของดอกกานพลู 4-5 หยด ใช้สำลีพันปลายไม้ จุ่มน้ำมันจิ้มในรูฟันที่ปวด จะทำให้อาการปวดทุเลา และใช้แก้โรครำมะนาดก็ได้ หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยว แล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันเพื่อระงับอาการปวด หรือใช้ ดอกกานพลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ระงับกลิ่นปาก” icon=”arrow”]ใช้ดอกตูม 2-3 ดอก อมไว้ในปาก จะช่วยทำให้ระงับกลิ่นปากลงได้บ้าง[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”สารเคมี : ” icon=”arrow”]Eugenol, Cinnamic aldehyde Vanillin น้ำมันหอมระเหย Caryophylla – 3(12)-6-dien-4-ol[/su_spoiler]
[su_youtube url=”https://www.youtube.com/watch?v=6WsWMB-wDhg”]