ชื่อสมุนไพร : สำมะงา
ชื่ออื่น : สำมะลิงา (ชัยภมูิ), เขี้ยวงู (ประจวบคีรีขันธ์), สัมเนรา (ระนอง), สักขรีย่าน (ชุมพร), สำปันงา (สตูล), สาบแร้งสาบกา (ภูเก็ต), สำลีงา ลำมะลีงา สำมะนา (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก), คากี (ภาคใต้), จุยหู่มั้ว โฮวหลั่งเช่า (จีน), ขู่เจี๋ยซู่ สุ่ยหูหม่าน (จีนกลาง), สามพันหว่า
ชื่อสามัญ : Garden Quinine, Petit Fever Leaves, Seaside Clerodendron
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum inerme (L.)Gaertn.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ใบสำมะงา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร พื้นใบเป็นสีเขียวและมัน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นเหม็นเขียว หลังใบและท้องใบเรียบ เนื้อใบบางและนิ่ม ก้านใบเป็นสีม่วงแดง ยาวได้ประมาณ 1-2 เซนติเมตร
- ดอกสำมะงา ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและที่ปลายยอด ช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 3-7 ดอก แต่ส่วนมากจะพบเพียง 3 ดอก ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีขนาดเล็ก มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1 นิ้ว ส่วนปลายแยกเป็นกลีบสีขาว 5 กลีบ เมื่อบานจะกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว ลักษณะเป็นรูปถ้วย ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีม่วง จำนวน 5 เส้น เมื่อดอกร่วงโรยไปก็จะกลายเป็นผล
ส่วนที่ใช้เป็นยา : : ใบ, ผล, ราก
สรรพคุณ สำมะงา :
- ใบสด ต้มน้ำใช้ทำความสะอาดแผล แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แผลเน่าเปื่อย แผลฟกช้ำ
- ใบแห้ง บดเป็นผง ใช้โรยแผลแก้ติดเชื้อ
- ใบและผลสด ต้มรวมกับเหล้าพออุ่น ทาแก้รอยฟกช้ำหรือบวม
- รากแห้ง ต้มกับน้ำดื่ม แก้ไข้หวัด ตับอักเสบและแผลบวม