เฉียงพร้ามอญ

เฉียงพร้ามอญ

ชื่อสมุนไพร : เฉียงพร้ามอญ
ชื่ออื่นๆ
: กระดูกไก่ดำ(ทั่วไป), กุลาดำ, บัวลาดำ(ภาคเหนือ), แสนทะแมน, ปองดำ(ตราด), กระดูกดำ(จันทบุรี), เฉียงพร้า(สุราษฎร์ธานี), เฉียงพร้าบ้าน, สันพร้ามอญ, ผีมอญ, เฉียงพร้าม่าน, เกียงพา, สำมะงาจีน(ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gendarussa vulgaris Nees.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเฉียงพร้ามอญ เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ต้นสีของลำต้นนั้นเป็นสีม่วง สูงประมาณ 1 เมตร
  • ใบเฉียงพร้ามอญ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันไปตามข้อต้นลักษณะของใบเป็นรูปหอกแคบ ปลายใบและโคนใบจะแหลม เส้นกลางใบเป็นสีม่วง ขนาดของใบนั้นกว้างประมาณ 0.5 นิ้ว หรืออาจจะกว่านี้เล็กน้อย ยาว 3-4.5 นิ้ว มีก้านใบสั้น
  • ดอกเฉียงพร้ามอญ ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น หรือตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะยาประมาณ 3 นิ้ว ลักษณะของดอกนั้นเป็นหลอดเล็ก ๆ ปลายดอกจะแยกออกเป็นกลีบ ซึ่งมีกลีบล่างและกลีบบน กลีบล่างนั้นจะโค้งงอเหมือนช้อน ส่วนกลีบบนจะตั้งกลีบดอกมีสีขาวอมเขียวประด้วยสีชมพู เกสรกลางดอกมี 2 อัน
  • ผลเฉียงพร้ามอญ เป็นฝัก ยาวประมาณ 0.5 นิ้ว

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก

สรรพคุณ เฉียงพร้ามอญ :

  • ใบ นำใบสดมาตำและเอาน้ำมาดื่ม แก้ปวดศีรษะ โรคหืด ไอ อัมพาต นำมาตำคั้นน้ำมาผสมกับเหล้ากิน แก้ไอ อาเจียนเป็นเลือด ช้ำใน ขับปัสสาวะ บวมตามข้อ กากของใบนำมาพอกแผลที่พิษอสรพิษขบกัด ใบนำมาต้มและดื่ม แก้ช้ำ แก้ไข้ ลดความร้อน ขับเลือดข้นในร่างกายให้กระจาย
  • รากและใบ ตำผสมกันแล้วนำมาพอกแผล ถอนพิษ นำมาต้มใช้อาบน้ำแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน

[su_quote cite=”The Description”]ใบเฉียงพร้ามอญ ในแต่ละประเทศนั้นจะใช้ใบรักษาไม่เหมือนกันแต่ก็ได้ผลไม่น้อยเลย เช่น
อินเดีย ได้ในใบมาตำแล้วคั้นเอาน้ำดื่มแก้ปวดหัว
มาเลเซียและอินโดนีเซีย มีวิธีใช้เหมือนกัน นำใบมาตำผสมกับเมล็ดเทียนแดงและหัวหอม ใช้พอกแก้ปวดหัว หรือนำใบมาคั้นเอาน้ำทาแก้ปวดท้อง ปวดตามข้อ ถ้าต้มกับน้ำจะเป็นยาบำรุงโลหิตได้
ฟิลิปปินส์ใช้ใบต้มกับนมทานแก้ฝีฝักบัว และแก้ท้องร่วงอย่างแรง หรือนำใบมาคั้นเอาน้ำดื่มแก้โรคหืดและไอ
ไทยเรานี้เอาใบตำผสมกับเหล้าคั้นเอาน้ำทานแก้ไข้ ลดความร้อน เป็นยาถอนพิษและเอากากที่เหลือนั้นพอกแผลดูดพิษที่ถูกอสรพิษกัดได้[/su_quote]

Scroll to top