ว่านมหากาฬ

ชื่อสมุนไพร : ว่านมหากาฬ
ชื่ออื่น :
ดาวเรือง(ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์
 : Gynura pseudochina (L.) DC.
ชื่อวงศ์ : Asteraceae (Compositae)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นว่านมหากาฬ เป็นไม้ล้มลุก เลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เซนติเมตร ลำต้นอวบน้ำ มีหัวอยู่ใต้ดิน รากเนื้อนิ่มอ่อน เปลือกรากเป็นสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เนื้อในเป็นสีขาว
  • ใบว่านมหากาฬ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลัก ลักษณะของงใบเป็นรูปใบหอกกลับ ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบหยักห่างๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-30 เซนติเมตร ใบแผ่ออกอยู่บนพื้นดิน แผ่นใบหนาและแข็ง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มปนสีน้ำตาลอมม่วง เส้นใบเป็นสีเขียวอ่อนตัดกับสีพื้นใบ มีขนสั้นปกคลุมอยู่ทั่วไป และผิวใบด้านล่างเป็นสีเขียว ส่วนใบอ่อนเป็นสีม่วงแก่
    ว่านมหากาฬ
  • ดอกว่านมหากาฬ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แทงขึ้นมาจากพื้นดิน ดอกย่อยเป็นสีส้มเหลืองมีหนามเล็ก ดอกเป็นรูปทรงกระบอก ลักษณะเป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรือง แต่มีมีขนาดเล็ก
  • ผลว่านมหากาฬ ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดล่อน ปลายมีขน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัว, ใบสด

สรรพคุณ ว่านมหากาฬ :

  • หัว รับประทานแก้พิษอักเสบ ดับพิษกาฬ พิษร้อน แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้เริม
  • ใบสด  รสเย็น ขับระดู ตำพอกฝี หรือหัวละมะลอก งูสวัด เริม ทำให้เย็น ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน

[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ” icon=”arrow”]
ใช้ใบสด 5-6 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะทีสะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย
ใช้ใบสด 5-6 ใบ โขลกผสมกับสุรา ใช้น้ำทา และพอกบริเวณที่เป็นด้วยก็ได้
ข้อสังเกต – ในการใช้ว่านมหากาฬรักษาเริม และงูสวัด เมื่อหายแล้ว มีการกลับเป็นใหม่น้อยกว่าเมื่อใช้เหล้าขาว[/su_spoiler]

Scroll to top