ยางนา

ชื่อสมุนไพร : ยางนา
ชื่ออื่นๆ :
กาตีล, ขะยาง, จะเตียล, จ้อง, ชันนา, ทองหลัก, ยาง, ยางกุง, ยางขาว, ยางควาย, ยางใต้, ยางเนิน, ยางแม่น้ำ, ยางหยวก, เยียง, ร่าลอย, เห่ง, ยางตัง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus alatus Roxb.
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นยางนา เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูงถึง 40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกค่อนข้างเรียบ สีเทาปนขาว โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด
  • ใบยางนา เป็นใบเดี่ยว ติดเรียงเวียนสลับ ทรงใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 20-35 เซนติเมตร โคนใบมนกว้าง ปลายใบสอบทู่ เนื้อใบหนา ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร มีขนประปราย
    ยางนา
  • ดอกยางนา สีชมพู ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบตอนปลาย กิ่งช่อหนึ่งมีหลายดอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนปลายถ้วยแยกเป็น 5 แฉก ยาว 2 แฉก และสั้น 3 แฉก มีขนสั้นๆ สีน้ำตาลปกคลุม กลีบดอก มี 5 กลีบ โคนกลีบชิดกัน ส่วนปลายจะบิดเวียน
  • ผลยางนา เป็นผลชนิดแห้ง รูปกระสวย มีครีบตามยาว 5 ครีบ มีปีกยาว 2 ปีก ขนาด 10-12 เซนติเมตร เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น, เมล็ด, ใบ, ยาง, น้ำมันยาง, น้ำมันยางดิบ

สรรพคุณ ยางนา :

  • เปลือกต้น  รสฝาดเฝื่อนขม ต้มดื่มแก้ตับอักเสบ บำรุงร่างกายฟอกโลหิต ใช้ทาถูนวด แก้ ปวดตามข้อ
  • เมล็ด  ใบ  รสฝาดร้อน ต้มใส่เกลืออมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน
  • ใบ  และยาง รสฝาดขมร้อน รับประมานขับเลือด ตัดลูก(ทำให้เป็นหมัน)
  • น้ำมัน  รสร้อนเมาขื่น ทาแผลเน่าเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน รับประทานกล่อม เสมหะ ห้ามหนอง ใช้แอลกอฮอล์ 2 ส่วนกับน้ำมันยาง 1 ส่วน รับประทานขับปัสสาวะ รักษาแผลทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาว แก้โรคทางเดินปัสสาวะ จิบขับเสมหะ ผสม เมล็ดกุยช่ายคั่วให้เกรียม บดอุดฟันแก้ฟันผุ
  • น้ำมันยางดิบ รสร้อนเมาขื่น ถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ ถ่ายกามโรค ถ่ายพยาธิใน ลำไส้
Scroll to top