ชื่อสมุนไพร : มะม่วงหิมพานต์
ชื่ออื่นๆ : กะแตแก(มลายู-นราธิวาส), กายี(ตรัง), ตำหยาว, ท้ายล่อ, ส้มม่วงชูหน่วย(ภาคใต้), นายอ(มลายู-ยะลา), มะม่วงกาสอ(อุตรดิตถ์), มะม่วงกุลา, มะม่วงลังกา, มะม่วงสินหน, มะม่วงหยอด(ภาคเหนือ), มะม่วงทูนหน่วย, ส้มม่วงทูนหน่วย(สุราษฎร์ธานี), มะม่วงยางหุย, มะม่วงเล็ดล่อ(ระนอง), มะม่วงไม่รู้หาว, มะม่วงหิมพานต์(ภาคกลาง), มะม่วงสิโห(เชียงใหม่), มะโห(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ยาโงย ยาร่วง(ปัตตานี)
ชื่อสามัญ : Cashew nut tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anacardium occidentale L.
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นมะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงโดยเฉลี่ย 6 เมตร (สามารถสูงได้ถึง 12 เมตร) ลำต้นเนื้อไม้แข็ง มีกิ่งแขนงแตกออกเป็นพุ่มแน่นทรงกลมถึงกระจาย เปลือกหนาผิวเรียบมีสีน้ำตาลเทา
- ใบมะม่วงหิมพานต์ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียน ใบหนาเกลี้ยงเหมือนแผ่นหนัง ใบคล้ายรูปไข่กลับหัวถึงรูปรีกว้าง ปลายใบกลม โคนใบแหลม เนื้อใบมีกลิ่นหอม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร
- ดอกมะม่วงหิมพานต์ ดอกออกเป็นช่อกระจาย ดอกมีสีขาวหรือสีเหลืองนวล และจะเปลี่ยนไปเป็นสีชมพู ช่อดอกแต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก และมีกลีบเลี้ยงสีเขียวขนาดเล็ก โคนดอกเชื่อมติดกัน ดอกหนึ่งมีปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ ปลายแหลมเรียว ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้ประมาณ 8-10 อัน หลังจากดอกร่วงจะติดผล
- ผลมะม่วงหิมพานต์ เปลือกแข็งเมล็ดเดียว รูปไต สีน้ำตาลปนเทา เมล็ดรูปไต ส่วนของฐานรองดอกขยายใหญ่ อวบน้ำ รูประฆังคว่ำ มีกลิ่นหอม กินได้
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ยางจากผลสด ที่ยังไม่สุก 1 ผล ที่เด็ดออกมาใหม่ๆ, ยางจากต้น, เมล็ด
สรรพคุณ มะม่วงหิมพานต์ :
- ยางจากผลสด ยางจากต้น เป็นยารักษาหูด
- เมล็ด ผสมยารับประทาน แก้กลากเกลื้อน และโรคผิวหนัง แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน
- ยางจากต้น ทำลายตาปลา และกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต แก้เลือดออกตามไรฟัน
[su_quote cite=”The Description”]วิธีและปริมาณที่ใช้
ยางจากผลสด ที่ยังไม่สุก 1 ผล ที่เด็ดออกมาใหม่ๆ ใช้ยางจากผลทางตรงบริเวณที่เป็นหูด ทาบ่อยๆจนกว่าจะหาย ยางจากต้นสด ทาตรงตาปลา หรือเนื้อที่ด้านเป็นบุ๋มโต ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย[/su_quote]