พะวา

ชื่อสมุนไพร : พะวา
ชื่ออื่น ๆ
: มะป่อง, สารภีป่า, มะระขี้นก, มะดะขี้นก, ขวาด, กวักไหม, หมากกวัก, ชะม่วง, วาน้ำ, กะวา, พะยา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia celebica L.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE , GUTTIFERAE

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นพะวา มีลักษณะเปลาตรง เปลือกลำต้นบาง มีสีเทาอมดำ แตกกิ่งก้านสาขาและใบหนาทึบเป็นทรงพุ่มรูปโดม มีขนาดความสูงของลำต้นประมาณ 10-18 เมตร ส่วนของลำต้น ใบ และผลมียางสีขาวอมเหลือง
  • ใบพะวา ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปทรงรี รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปรีแกมขอบขนาน แผ่นใบเรียบค่อนข้างหนา มีสีเขียวเข้มเป็นมัน โคนใบสอบ ปลายใบแหลมหรือมนกว้าง ขอบใบเรียบ มีขนาดความกว้างของใบประมาณ 4-8 ซม. ยาวประมาณ 8-15 ซม. แตกใบดกและหนาทึบ
  • ดอกพะวา ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมรีสีเหลืองอ่อนและหนาจำนวน 4 กลีบ มีกลีบเลี้ยงจำนวน 4 กลีบ มีเกสรเพศผู้อยู่บริเวณกลางดอกเป็นจำนวนมาก ขนาดดอกที่บานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. และร่วงโรยไปภายใน 1-2 วัน ส่วนดอกเพศเมียจะออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้ แต่กลีบดอกจะยาวกว่า มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยงสีเหลืองจำนวน 4 กลีบ มีเกสรเพศเมียอยู่บริเวณกลางดอกซึ่งจะพัฒนาเป็นผลต่อไป เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดเท่ากับดอกเพศผู้ ดอกเพศเมียมักร่วงโรยไปภายในเวลา 1 วัน เริ่มให้ดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคม-มีนาคม และในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ดอกมีกลิ่นหอม
  • ผลพะวา มีลักษณะเป็นรูปทรงไข่ ผิวผลเรียบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางผลประมาณ 1-2 ซม. ยาวพะวาประมาณ 1.5-3 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีส้ม และสีแดงเมื่อสุก บนขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ภายในผลมีเนื้อเป็นกลีบคล้ายกับมังคุดแต่จะมีความใสกว่า เนื้อผลมีรสฝาดเปรี้ยว สามารถรับประทานได้ เริ่มติดผลในช่วงประมาณเดือนเมษายนและในฤดูฝน เมล็ดพะวา มีลักษณะแบนยาวเป็นสีน้ำตาล

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น, ใบ, ดอก, เนื้อภายในผล

สรรพคุณ พะวา :

  • เปลือกต้นและใบ ใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยาลดไข้ ช่วยรักษาแผลในช่องปาก ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ดอก ใช้ดอกแห้งต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ช่วยให้เจริญอาหาร
  • เปลือกผล ใช้ปรุงเป็นยาแก้ท้องเสีย
  • เนื้อภายในผล ใช้รับประทานเป็นยาระบาย
Scroll to top