พลูช้าง

ชื่อสมุนไพร : พลูช้าง
ชื่ออื่นๆ : เครืองูเขียว (หนองคาย), หีควาย (กรุงเทพฯ), ดิป๊ามซุง (เมี่ยน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scindapsus officinalis Schott.
ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นพลูช้าง เป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นอวบ และชอบอาศัยเกาะตามไม้ยืนต้น ลำต้นโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ราว ๆ 1 เซนติเมตร
    พลูช้าง
  • ใบพลูช้าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกัน แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปรีแกมไข่ หรือรูปไข่เบี้ยวแกมรูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือเว้าเป็นรูปหัวใจตื้น ๆ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6.5-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12.5-25.5 เซนติเมตร แผ่นใบเกลี้ยงเป็นมัน เส้นใบมองเห็นได้ชัดเจน ก้านใบแผ่เป็นครีบ
  • ดอกพลูช้าง ออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ๆ บริเวณยอด ดอกมีลักษณะเป็นแท่งกลมยาวและมีก้านช่อดอกสั้นกว่าก้านใบมาก กาบหุ้มช่อดอกด้านนอกเป็นสีเขียว ส่วนด้านในเป็นสีเหลือง กาบที่หุ้มบนแท่งช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกสมบูรณ์เพศจำนวนมากเรียงอัดกันแน่น แต่ละดอกนั้นจะมีเกสรเพศผู้ประมาณ 4-6 อัน ส่วนรังไข่จะมีอยู่ 1 ช่อง
  • ผลพลูช้าง ผลเป็นผลสดมีเนื้อนุ่มฉ่ำน้ำเหมือนมะเขือเทศ แต่มีขนาดเล็กและมีจำนวนน้อย ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปหัวใจ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล

สรรพคุณ พลูช้าง :

  • ผล  ใช้เป็นยาบำรุง ยากระตุ้น ขับพยาธิ ขับเหงื่อ และยังเป็นยาทารักษาอาการปวดตามข้อ
Scroll to top