กระท่อม

กระท่อม

ชื่อสมุนไพร : กระท่อม
ชื่ออื่นๆ
: ท่อม(ภาคใต้), อีถ่าง(ภาคกลาง) กระท่อมขี้หมู, กระทุ่มดง, กระทุ่มนำ, ท่อมขี้หมู, ตุ้มน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mitragyna speciosa (Korth.) Havil.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระท่อม เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 4-16 เมตร เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น ความชื้นสูง ดินอุดมสมบูรณ์ และมีแสงแดดปานกลาง กระท่อมจัดเป็นพืชที่มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศไทยและมาเลเซีย สามารถพบได้ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปแอฟริกา
    กระท่อม
  • ใบกระท่อม เป็นใบเดี่ยวเรียงตัวเป็นคู่ตรงข้ามและมีหูใบ 1 คู่ (interpetiolarstipules) ใบมีรสขมเฝื่อน แผ่นใบสีเขียว เป็นรูปไข่รีแกมขอบขนาน ปลายแหลมมีขนาด กว้าง x ยาวประมาณ 5-10 x 8-14 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ก้านใบออกจากฐานใบ มีความยาวประมาณ 2-4 ซม. เส้นใบเรียงตัวแบบขนนก เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบมีสีแดงเรื่อ มีขนอ่อนสั้นๆ บริเวณเส้นใบที่อยู่ด้านท้องใบ มีเส้นแขนงใบ 10-15 คู่
    กระท่อม
  • ดอกกระท่อม ออกเป็นช่อตุ้มกลม(head) ขนาด 3-5 เซนติเมตร ใน 1 ช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวอมเหลืองจํานวนมาก ดอกย่อยสมบูรณ์เพศ
  • ผลกระท่อม เป็นรูปไข่ขนาดเล็กประมาณ 5-7 มิลลิเมตร


พืชกระท่อมมีอยู่ ๒ ชนิด คือ

  1. ชนิดก้านแดง มีลักษณะของก้านและเส้นของใบเป็นสีแดงเรื่อ ๆ
  2. ชนิดก้านเขียว มีลักษณะของก้านและเส้นของใบเป็นสีเขียวตลอด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ

สรรพคุณ กระท่อม :

  • ใบ รสขมเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยร่างกาย ระงับประสาทช่วยให้ทำงานทนไม่หิวง่าย
    ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น อาการปวดที่ไม่พึงประสงค์เป็นผลจากการบาดเจ็บทางร่างกาย เนื้อเยื่อ ปวดหลัง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น อาการปวดที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม มะเร็ง เบาหวาน โรคข้ออักเสบ เป็นต้นโดยไม่คำนึงถึงที่มาความเจ็บปวดจะส่งผลต่อร่างกายทั้งทางร่างกายและจิตใจ
    ช่วยรักษาอาการไอ
    ช่วยลดการหลั่งกรด
    ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก
    ใบกระท่อมช่วยให้มีสมาธิและระงับประสาท
    ช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและควบคุมอารมณ์ไปในทางที่ดีขึ้น
    ช่วยในเรื่องการเผาผลาญ ควบคุมน้ำนัก
    ช่วยเพิ่มระดับพลังงานของร่างกายในผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี
    ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์สำคัญของร่างกาย
    แก้ท้องเสีย ท้องร่วง บิด ปวดเกร็ง
    แก้ปวดฟัน แผลในปาก
    ทำให้นอนหลับ และระงับประสาท
    แก้ปวดเมื่อยร่างกาย
    ช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย
    ใช้ใบกระท่อมเพื่อระงับอาการกล้ามเนื้อกระตุก
    เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ
    ช่วยลดความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า

วิธีใช้

  • ให้นำใบสด 3-4 ใบ มาลอกเอาก้านใบและเส้นใบออก เคี้ยวให้ละเอียด ดื่มน้ำอุ่นกลั้วกลืนลงไป หรือนําใบมาตากแดดให้แห้งบดเป็นผง รับประทานกับน้ำอุ่นครั้งละ 1 ช้อนกาแฟพูนๆ แก้ท้องเสีย บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มสบายตัวได้นานประมาณ 4-5 ชั่วโมง การรับประทานใบกระท่อมช่วยให้ทำงานได้ทนเวลามีแสงแดดจัด แต่จะเกิดอาการหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน

*** 24 ส.ค.2564 ประเทศไทยเริ่มมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ปลดล็อกพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 ทำให้ชาวบ้านทั่วไปสามารถปลูกพืชกระท่อม เอาไว้ครอบครอง และสามารถซื้อ ขาย หรือนำมาบริโภคได้อย่างเสรี ไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป ตามนโยบายรัฐบาลต้องการผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ สามารถส่งขายเชิงพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรมได้ เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย

กระท่อม

[su_spoiler title=”ประโยชน์ :” icon=”plus-square-1″]ยาพื้นบ้านของไทยใช้ใบกระท่อมบำบัดอาการท้องร่วงและเคี้ยวกินแทนฝิ่น ก่อนที่จะมีการออกพระราชบัญญัติห้ามปลูกและการมีไว้ในครอบครอง เพราะเชื่อว่าใบกระท่อมช่วยเพิ่มพลังในการทำงาน ทำให้ทนต่อการทำงานหนักกลางแดดได้ แต่ไม่ทนฝน เมื่อหยุดใช้ทำให้ท้องร่วง อ่อนเพลีย หงุดหงิด น้ำตาไหล และคัดจมูก เมื่อกลับมาใช้ใหม่จะรู้สึกสบายและอาการต่างๆ ดังกล่าวจะหายไป [/su_spoiler]

[su_spoiler title=”โทษ :” icon=”plus-square-1″]หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวหนังมีสีคล้ำโดยเฉพาะที่ใบหน้าและริมฝีปาก ท้องผูก และปากแห้ง [/su_spoiler]

[su_spoiler title=”ปลดล็อกพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด” icon=”arrow”]มีผลใช้บังคับในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูก และขายได้อย่างเสรีโดยไม่ผิกกฎหมาย[/su_spoiler]

Scroll to top