ชื่อสมุนไพร : ขิง
ชื่ออื่น ๆ : ขิงเผือก (เชียงใหม่), ขิงแดง, ขิงแกลง (จันทบุรี), สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เกีย (จีน), ขิงบ้าน
ชื่อสามัญ : Ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Roscoe
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นขิง เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นอยู่ใต้ดินซึ่งเรียกว่าเหง้า ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 50-100 ซม. ลักษณะเหง้าที่อยู่ใต้ดินจะกลมและแบน ลำต้นแท้จะมีลัษณะเป็นข้อ ๆ เนื้อในจะเป็นสีขาวหรือเหลืองอ่อน สุดท้ายของข้อนั้นจะเป็นยอดหรือต้นเทียมใหญ่เท่าแท่งดินสอดำ และกาบหรือโคนใบหุ้ม
- ใบขิง เป็นชนิดใบเดี่ยว จะออกสลับกันเป็นสองแถว ก้านใบนั้นจะยาวห่อหุ้มลำต้น ใบเขียวยาวรูปหอก ฐานใบนั้นเรียวแหลม ขอบใบจะเรียบ มีความกว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. รูปใบคล้ายใบไพล
- ดอกขิง จะออกรวมกันเป็นช่อจากลำต้นใต้ดิน ซึ่งจะแท่งขึ้นมาจากเหง้า มีก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 ซม. ทุก ๆ ดอกมีกาบสีเขียวปนแดงลักษณะโค้ง ๆ ห่อรองรับ กาบนั้นจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน และจะบานให้เห็นดอกในภายหลัง ดอกที่ปิดกันแน่นนั้นจะยาวประมาณ 5 ซม. กว้างประมาณ 2.5 ซม. กลีบดอกจะติดกันแน่นยาวประมาณ 2 ซม. และมีสีเหลืองออกเขียวส่วนกลีบรองดอกจะยาวประมาณ 2.5 ซม. เป็นเยื่อบาง ๆ หุ้มอยู่ และมีกลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1 ซม.ทั้งกลีบดอกและกลีบรองดอกนั้น ตรงปลายของมันจะแยกเป็น 3 กลีบ สามารถอุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนตรงปลายของกลีบจะผายกว้างออก เกสรจะมีอยู่ 6 อัน เกสรตัวผู้ที่ฝ่อไปมีสีม่วงแดง และจะมีจุดสีเหลือง คล้ายลิ้น ตรงปลาย จะมนกลมสั้นกว่ากลีบดอก ส่วนที่มีลักษณะคล้ายลิ้นนั้นมีก้านเกสรตัวเมียอยู่ 1 อัน และมีอับเรณูล้อมรอบรังไข่ มีอยู่ 3 ห้อง
- เมล็ดขิง (ผล) จะมี 3 พู ภายในเมล็ด ผลจะกลม ผลโตและแข็งแรง วัดผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1 ซม.
- เหง้าขิง เมื่อแก้จะมีรสเผ็ดร้อนมาก เนื้อเหง้าขิงสีเนื้ออมเหลือง ๆ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ต้น, ใบ, ดอก, ผล, ราก, เหง้า, เปลือกเหง้า, น้ำมันระเหย
สรรพคุณ ขิง :
- เหง้าแก่สด ยาแก้อาเจียน ยาขมเจริญอาหาร ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียดได้ดี มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี เพื่อย่อยอาหาร แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก ลดความดันโลหิต
- ต้น ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา แก้บิด แก้ลมป่วง แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้อาเจียน
- ใบ รสเผ็ดร้อน บรรเทาอาการแก้ฟกช้ำจากการหกล้ม กระทบ กระแทก แก้โรคกำเดา ขับผายลม แก้นิ่ว แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา ขับลมในลำไส้ แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น เช่น มะขามแขก กานพลู ต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาระบายชนิดกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้บีบตัว
- ดอก รสฝาดร้อน ทำให้ชุ่มชื่น แก้โรคตาแฉะ ฆ่าพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ แก้นิ่ว แก้เบาขัด แก้บิด แก้ขัดปัสสาวะ โรคประสาทซึ่งทำใจให้ขุ่นมัว
- ผล (เมล็ด) รสหวานเผ็ด รักษาอาการไข้ บำรุงน้ำนม บรรเทาอาการคอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ, ใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น แก้หนองใน ตาต้อกระจก ตาฟาง ตามืด วิงเวียนศีรษะ โรคประสาทพิการ ปวดเอว การมีบุตรยากของสตรี
- ลำต้นเหนือดิน รสเผ็ดร้อน ขับลมลำไส้ แก้ท้องร่วง จุกเสียด
- เหง้า (ลำต้นใต้ดิน) รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้อาเจียน ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ แก้หอบ รักษาบิด และรักษาพิษจากปู ปลา นก เนื้อสัตว์อื่นๆ ต้มดื่มแก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยขยายหลอดเลือดใต้ผิวหนังทำให้เหงื่อออก ปรับอุณหภูมิในร่างกายให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย ให้ปรุงกับสมุนไพรอื่นเป็นยาคุมธาตุได้ดี และช่วยย่อยอาหาร ใช้เหง้าสดโขลกผสมกระเทียม เกลือ มะนาว รับประทานขับน้ำคาวปลาในสตรีที่คลอดบุตรใหม่ และขับลม บรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันการเมารถเมาเรือได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน
- เปลือกเหง้า รสเผ็ดร้อน เปลือกเหง้าแห้งต้มน้ำดื่มเป็นยาขับปัสาวะ ขับลม รักษาอาการท้องอืด แน่นจุกเสียด อาการบวมน้ำ หรือใช้เป็นยาภายนอกทารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน และแผลมีหนอง
- ราก รสหวานเผ็ดร้อนขม ขับลม ฆ่าพยาธิ และเจริญอาหาร แก้เสมหะ แก้บิด แก้พรรดดึก บำรุงเสียงให้เพราะ ทำให้ผิวหนังสดชื่น แก้นิ่ว แก้ไอ รักษาบิดตกเป็นโลหิตสีขมิ้น
[su_spoiler title=”ข้อควรระวัง” style=”fancy” icon=”caret-square”]น้ำขิงเป็นสมุนไพรที่ไม่ควรดื่มติดต่อกันหลายวัน เพราะเป็นเหตุให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้[/su_spoiler]